(Renewable Energy Certificate: REC)
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน)
หรือ “SPCG” ผู้บุกเบิกและผู้นำธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบโซลาร์ฟาร์ม
และโซลาร์รูฟรายแรกของประเทศไทยและอาเซียน ประกาศเจตนารมณ์เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2573 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงสัญญา
ซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ร่วมกับนายอธิป ตันติวรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด “INNOPOWER” บริษัทในเครือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงาน
ดร.วันดี กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วม “ความตกลงปารีส” หรือ “Paris Agreement”
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 71 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และได้มอบสัตยาบันสารเข้าเป็นภาคีความตกลงปารีสของไทย
ให้กับนายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ โดยล่าสุดในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP27) ณ สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
ในการขับเคลื่อนการดำเนินการของไทย โดยประเทศไทยได้จัดส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ ซึ่งกำหนดเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี
พ.ศ. 2593 และการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero Emissions) ภายในปี พ.ศ. 2608
รวมทั้งได้ยกระดับเป้าหมาย National Determined Contribution หรือ NDC โดยเพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นร้อยละ 40 ภายในปี พ.ศ. 2573
SPCG ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด
อีกทั้งยังตั้งปณิธานในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง
ในฐานะผู้บุกเบิกธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาดด้วยโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 36 โครงการ รวมกำลังการผลิตกว่า 260 เมกะวัตต์ ธุรกิจของเราจึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนใกล้เคียง ไม่มีต้นทุนค่าเชื้อเพลิง และไม่มีการปลดปล่อยของเสีย ทำให้เราสามารถลดการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่า 200,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน
เราขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนไดออกไซด์ และขอสนับสนุนธุรกิจที่มีพันธกิจสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
“Carbon Neutrality” ในการแบ่งปันองค์ความรู้ประสบการณ์และนำมาประยุกต์ใช้ในการคิดค้นเทคโนโลยี
ต่อยอดนวัตกรรมและพัฒนาโซลูชันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตของพลังงานคาร์บอนต่ำ
และขอประกาศเจตนารมณ์เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยมุ่งมั่นสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2573
พร้อมกันนี้ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงสัญญาซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ร่วมกับนายอธิป ตันติวรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด “INNOPOWER” บริษัทในเครือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงาน โดย INNOPOWER จะเป็นผู้แทนในการบริหารจัดการและซื้อขายเเลกเปลี่ยน REC ในระยะเวลา 5 ปี โดย SPCG คาดว่าโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ
Solar Farm ทั้ง 36 โครงการในประเทศไทย รวมกำลังการผลิต 260 เมกะวัตต์ของบริษัทนั้น จะสามารถออก REC
ได้ประมาณ 370,000 RECs ต่อปี ดร.วันดีกล่าว
ดร.วันดี กล่าวว่า SPCG มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับ INNOPOWER โดยการร่วมมือดังกล่าวนั้น
มีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อส่งเสริมเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 และการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
(Net Zero Emissions) ภายในปี พ.ศ. 2608 อีกทั้งจะเป็นการส่งเสริมการใช้และการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) และขอเชิญชวนทุกท่านให้ร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม รักษาโลกของเรา เพื่อส่งผ่านไปยังลูกหลานของเราในอนาคตต่อไป
คุณอธิป กล่าวว่า หากพูดถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคพลังงานคงจะเป็นอันดับแรกๆ ที่ทุกคนอาจนึกถึง
ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม บ้านเรือน หรือแม้กระทั้งการเดินทาง ทั้งหมดล้วนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน สิ่งหนึ่งที่เป็นภารกิจของ INNOPOWER คือการค้นหาเทคโนโลยีที่จะทำให้การใช้ชีวิตของเราทุกคนเป็นไปได้อย่างปกติ แต่ในขณะเดียวกันต้องทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดน้อยลง รวมทั้งทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต้องมีการกล่าวถึงเรื่องของพลังงานทดแทนอย่างแน่นอน เพราะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้นช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก INNOPOWER จึงเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดผ่านธุรกิจการซื้อขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (I-RECs) นอกจากนั้น INNOPOWER ยังเสาะแสวงหาเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะทำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงในอนาคตจะมีการเฟ้นหานวัตกรรมต่างๆ ในการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ INNOPOWER ในการให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมความยั่งยืนในธุรกิจ และเดินหน้าต่อยอดธุรกิจพลังงานสีเขียว เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ด้วยเช่นกัน